วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาษาเกาหลี

ภาษาเกาหลี
ภาษาเกาหลี (한국어/조선어,) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดเหยียนเปียน มณฑลจื๋อหลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลี) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV)อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50%มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม
 ตัวอย่างการทักทายภาษาเกาหลี
: 안녕하세요. อันนยองฮาเซโย  สวัสดีค่ะ/ครับ
: 안녕하세요. อันนยองฮาเซโย สวัสดีค่ะ/ครับ
: 이름이 무엇이에요? อีลือมี มูออชีเอโยะ ชื่ออะไรค่ะ/ครับ
: 이름은.... 이에요. เช อีลือมึน.... อีเอโย ชื่อของฉันคือ....
: 만나서 반가워요. มันนาสอ พันกาวอโย ยินดีที่ได้รู้จัก 
 : 만나요. 안녕히 가세요. โตะ มันนาโย อันนยอง คาเสโย แล้วพบกันใหม่นะคะ
: 만나요. 안녕히 가세요. เน่  โตะ มันนาโย อันนยอง คาเสโย แล้วพบกันใหม่นะคะ



กิมจิ

กิมจิ
กิมจิ เกาหลี: 김치, MC: Gimchi, MR: Kimch'i มีข้อสันนิษฐานกันว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "ชิมเช" (เกาหลี: 침채, ฮันจา: 沈菜, MC: chimchae, MR: ch'imch'ae ที่แปลว่าผักดองเค็ม กิมจิเป็นอาหารเกาหลีประเภทผักดองที่อาศัยภูมิปัญญาก้นครัวของชาวเกาหลี ด้วยการหมักพริกสีแดงและผักต่างๆ โดยทั่วไปจะเป็นผักกาดขาว ชาวเกาหลีนิยมรับประทานกิมจิเกือบทุกมื้อ และยังนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบอาหารอีกหลายอย่าง เช่น ข้าวต้ม ข้าวสวย ซุป ข้าวผัด สตู บะหมี่ จนถึงพิซซาและเบอร์เกอร์ ปัจจุบันกิมจิมีมากกว่า 187 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีรสเผ็ด เปรี้ยว และมีกลิ่นฉุน แม้ปัจจุบันมีบริษัทอาหารผลิตกิมจิสำเร็จรูปหรือแบบสดขายตามห้างสรรพสินค้าก็ตาม แต่ชาวเกาหลีก็ยังนิยมทำกิมจิกินเองที่บ้าน

"ชุดฮันบก"ชุดประจำชาติเกาหลี

ชุดฮันบก
ฮันบกเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติเกาหลีมาเป็นเวลาพัน ๆ ปีมาแล้วความงามและความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลีจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบกนี้ก่อนที่วัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตกจะได้เข้ามาในเกาหลีเมื่อร้อยปีมาแล้วนั้น หญิงชาวเกาหลีจะสวมชุดฮันบกเป็นปกติทุกวัน ส่วนสุภาพบุรุษจะสวมชอโกรี (เสื้อนอกแบบเกาหลี) และพาจิ (กางเกงขายาว) ในขณะที่สุภาพสตรีสวมชอกอรีและชีมา (กระโปรง) ในปัจจุบันชุดประจำชาติฮันบก จะใช้สวมเฉพาะในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส วันซอลลัล (วันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า) ฮันบก ของผู้หญิงประกอบด้วย กระโปรงพันรอบตัว เรียกว่า ชิมาและเสื้อ ชอกอรี ซึ่งคล้ายเสื้อแจ็คเก็ตฮันบกของผู้ชาย

วัฒนธรรมสำคัญของเกาหลี

เซริ  : ประเพณีตามฤดูกาล
 ประเพณีเซริ ซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา ตรงกับวันที่เป็นการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลโดยยึดถือตามปฏิทินทางจันทรคติ เช่น ในวันขึ้นปีใหม่ ชาวเกาหลีจะทำการสักการะบรรพบุรุษ โดยการเซ่นไหว้ด้วยอาหาร เครื่องดื่มและเครื่องเซ่นต่างๆ หลังจากนั้นมีเซเบ หรือการโค้งคาราวะต่อผู้ที่อาวุโสในครอบครัว สำหรับในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย หรือที่เรียกว่าแดบอรึมนั้น จะมีการทำหุ่นฟางข้าว แล้วโยนลงในแม่น้ำ ซึ่งพิธีนี้ได้สูญหายไปจากหลายพื้นที่ในประเทศแล้ว แต่ประเพณีการกินเจ ยังกระทำอยู่โดยทั่วไป ในวันขึ้น 15 คำ เดือน 8 เป็นวันซูซอก เป็นวันแสดงความขอบคุณโดยลูกหลานจะไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน อาหารพิเศษสำหรับวันนี้มีซองเพียนซึ่งเป็นขนมรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ที่ใส่ งา ถั่ว ลูกเกาลัดหรือผักสดอื่น ๆ

พีธีเปลี่ยนวัย
    ในเกาหลีนั้น เมื่อชาวเกาหลีเกิดมาจะมีประเพณีต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า กวานฮนอซังเจ ซึ่งรวมถึงประเพณีบรรลุนิติภาวะ ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีงานศพ และประเพณีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ประเพณีบรรลุนิติภาวะ เป็นพิธีเรียบง่าย เด็กชายจะไว้ผมยาวและผูกจุก ได้รับกัดหรือหมวก ที่ทำด้วยหางม้า ส่วนเด็กหญิงจะถักผมเปียและทำมวยผม แล้วปักด้วยปิ่นปักผมโลหะ เรียกว่า บินยิว ส่วนประเพณีแต่งงานจัดขึ้นที่บ้านเจ้าสาว และเมื่อแต่งงานแล้วทั้งคู่จะอยู่ที่บ้านเจ้าสาวไปอีก 2-3 วัน แล้วจึงไปอยู่บ้านเจ้าบ่าว
    ประเพณีงานศพ ของชาวเกาหลีเป็นพิธีที่มีขึ้นตอนมากมาย การไว้ทุกข์มักจะกระทำเป็นเวลา 2 ปี และมีระเบียบพิธีสวดมนต์ กราบไหว้ สักการะเป็นระยะตลอด 2 ปี ชาวเกาหลีได้สืบทอดประเพณีการเซ่นไว้บรรพบุรุษแสดงถึงความผูกพันระหว่างผู้ตายและลูกหลาน


อยากไปเกาหลีลีลีลีลี!

เกาะเชจูหรือเชจูโด
เกาะเชจูหรือเชจูโด(제주도) ในภาษาเกาหลีถือว่าเป็น เกาะแห่งองค์สาม กล่าวคือ หิน ลม และผู้หญิง เกาะหินรูปร่างลักษณะแปลก ๆ มีให้เห็นทั่วไป ทั้งริมฝั่งทะเล และบนภูเขา หินรูปหัวมังกร หรือ ยงทูอัม (용두암) นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของเกาะเชจู
เชจูโด หรือเกาะเชจู ซึ่งอยู่ทางใต้ของโซลเป็นหนึ่งในจังหวัดทั้ง9ประเทศเกาหลี ซึ่งเราได้เห็นบรรยากาศสวย ๆ กันบ่อย ๆ จากซีรีย์เกาหลีต่าง ๆหากคุณเดินทางโดยเครื่องบินจากโซลจะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง ทั้งยังมีเที่ยวบินตรงจาก โอซากา นาโงย่า ฟูกูโอกะ เซี่ยงไฮ้ และฮ่องกง มายัง เชจู อีกด้วยหรือคุณจะเดินทางมาจาก พูซาน วานโด อินชน ยอซู หรือ มกโพ โดยเรือเฟอร์รี่ก็ได้ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่แยกออกไปจากแผ่นดินใหญ่ และมีบรรยากาศโรแมนติคแบบประเทศในเขตร้อน โดยมีสี่ฤดูและอากาศอบอุ่นสบาย อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 15 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งปีและในฤดูร้อนอุณหภูมิโดยเฉลี่ยคือ 22-26 องศาเซลเซียส คู่บ่าวสาวที่เพิ่งแต่งงานและนักท่องเที่ยวจึงนิยมไปเที่ยวที่เกาะแห่งนี้
เกาะเชจูและถ้ำลาวา คือหนึ่งในแหล่งมรดกโลกของประเทศเกาหลีใต้ เป็นเกาะภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ในทะเลจีนตะวันออก และห่างจากชายฝั่งทางใต้ของเกาหลี 130 กิโลเมตร ตัวเกาะมีพื้นที่ 1,846 ตร. กม. เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด มีภูเขาที่สูงที่สุด (1,950 เมตร) และเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดของเกาหลีใต้

เกาะนามิ
เกาะนามิซัม (Namiseom) หรือนามิโด (Namido Island) ตั้งอยู่ในเมืองชุนซอน จังหวัดคังวอน เป็นเกาะกลางแม่น้ำมีรูปร่างเหมือนใบไม้ลอยน้ำ เป็นเกาะที่เกิดจากการสร้างเขื่อนชองเปียง (Cheongpyeong) กั้นแม่น้ำ Bukhan ชื่อของเกาะนามิถูกตั้งขึ้นตามชื่อของนายพลนามิ ทีรับราชกาชตั้งแต่อายุ 17 ปี และถููกประหารเพราะมีความก้าวหน้าในหน้าที่การทำงานมากเกินไป ซึ่งเป็นนายทหารที่มีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์โชซอน  เป็นเกาะที่เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ในการใช้เวลาว่างเพื่อพักผ่อนของครอบครัวหรือคู่หนุ่มสาวนิยมใช้สถานที่นี้ในการออกเดท เพราะมีบรรยากาศที่โรแมนติกและที่สำคัญ คือ อยู่ห่างจากกรุงโซลเพียง 1 ชั่วโมงครึ่ง หากจะขึ้นแท็กซี่ไปเกาะนามิพูดว่านามิ ซอม คาโยแปลเป็นไทยว่า ไปเกาะนามิ ค่ะฤดูใบไม้ร่วงเป็นเป็นช่วงเวลาที่เกาะนามิ น่าหลงใหลเป็นที่สุดเพราะการเปลี่ยนสีแดงสีเหลืองของบรรดาใบไม้บนเกาะนั้น ยิ่งทำให้บรรยากาศบนเกาะนามิโรแมนติกยิ่งขึ้น และที่พลาดไม้ได้เพราะเป็นไฮไลท์ของเกาะนามิ คือ รูปถ่ายขนาดตัวจริงของ เบยองจุน และ แชงจีอู คู่พระนางในละคร winter love song หรือเพลงรักในสายลมหนาว และทิวสนต้นใหญ่หลายต้นที่ยืนตั้งตระง่านเรียงรายคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวรอให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปความประทับใจไว้เป็นความทรงจำว่ากาลครั้งหนึ่งได้เคยเดินทางมา ณ เกาะนามิ นอกจากนี้ก็ยังมีศูนย์นิทรรศการจัดแสดง
รายละเอียดสถานที่ถ่ายทำละครเกาะนามินี้ยังมีกิจกรรมสนุก ๆ เช่น ขี่จักรยาน สกีน้ำ พายเรือ สนามเด็กเล่น สนามฟุตบอล สนามเทนนิส สระว่ายน้ำ เล่นเลื่อนหิมะ และชม ฟาร์มนกกระจอกเทศ ห่างจากกรุงโซล เพียง 63 กิโลเมตร ณ ที่แห่งนี้ท่านสามารถคารวะ สุสานนายพลนามิ ซึ่งเป็นเจ้าของเกาะ เช่าจักรยานเที่ยวรอบเกาะ ดื่มด่ำกับธรรมชาติ แมกไม้ ทิวสน ต้นเกาลัดได้อีกด้วย


ภาษาจีนกลาง

ภาษาจีนกลาง

ภาษาจีนกลาง ใช้เรียกคำต่าง ๆ ในภาษาจีน ที่ใช้เรียกประเภทของภาษาพูดจีนที่สัมพันธ์กัน ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Mandarin"
ในวงแคบ คำว่า ภาษาจีนกลาง ใช้เรียก ผู่ทงฮั่ว (普通/普通話) และ กั่วอวี่ (/國語) ซึ่งเป็นภาษาพูดมาตรฐานที่เกือบจะเหมือนกัน ซึ่งมีพื้นฐานมาจากภาษาพูดที่ใช้กว้างขวาง คือ Beifanghua เป่ยฟางฮั่ว ซึ่งความหมายในวงแคบนี้ คือความหมายที่ใช้ในบริบทนอกวิชาการ
ในวงกว้าง คำว่า ภาษาจีน ใช้เรียก เป่ยฟางฮั่ว ("ภาษาพูดทางเหนือ") ซึ่งเป็นประเภทที่ประกอบด้วยภาษาย่อยต่าง ๆ ของภาษาจีนที่ใช้ในทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งความหมายนี้มักจะพบในบริบททางวิชาการ และจะใช้ความหมายนี้ในบทความนี้ โดยที่ผู่ตงฮั่วและกั๋วอวี่ จะใช้ชื่อจีนเรียก รวมถึงใช้ "ภาษาจีนกลางมาตรฐาน" และ "ภาษาจีนมาตรฐาน" เรียก
ภาษาประเภทเป่ยฟางฮั่วมีคนพูดมากกว่าภาษาอื่น ๆ และเป่ยฟางฮั่วก็เป็นพื้นฐานของผู่ตงฮั่วและกั่วอวี่ด้วย อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า เป่ยฟางฮั่วครอบคลุมภาษาย่อยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ นอกจากนี้ แนวคิดเป่ยฟางฮั่วส่วนใหญ่ ไม่ใช้นอกวงการวิชาการเป็นคำที่ใช้อธิบายตัวเอง เมื่อให้อธิบายชนิดของภาษาพูดที่ใช้ คนจีนที่พูดชนิดของเป่ยฟางฮั่วจะอธิบายตามชนิดของภาษาที่ใช้ เช่น ภาษาเสฉวนหรือภาษาจีนตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวจีนมักจะถือชนิดของภาษาจีนกลางที่พูด เป็นส่วนหนึ่งของการระบุมณฑลที่อายอยู่ อย่างไรก็ดี แทบจะไม่มีอะไรที่สามารถระบุได้โดยทั่วไป เกี่ยวกับแนวคิดของภาษาพูดทางเหนือ
ตัวอย่างการทักทายภาษาจีน

你好!
หนี ห่าว
สวัสดี
你好嗎? (你好?)
หนี ห่าว มา
คุณสบายดีไหม
我很好, 你呢?
หว่อ เหิน ห่าว, หนี่ เนอ
ฉันสบายดี แล้วคุณล่ะ
我也很好。
หวอ เหย่ เหิน ห่าว
ฉันก็สบายดี

มารยาทการกินของชาวจีน

มารยาทการกินของชาวจีน
 ชนชาติจีนเป็นหนึ่งใน 3 ชนชาติที่เป็นเจ้าแห่งวัฒนธรรมการกิน อีก 2 ชน
ชาตินั้น ได้แก่ กรีก และโรมัน อาหารนานาชนิดที่เกิดขึ้นในโลกนี้ได้รับอิทธิพล
การกินจากประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ เช่น เส้นสปาเก็ตตี้ที่เรากินกันอยู่นี้ก็มีกำเนิดมา
จากเส้นก๋วยเตี๋ยวของจีนนั่นเอง เมื่อเริ่มมีการติดต่อซื้อขายกันฝรั่งได้ชิมรสของ
ก๋วยเตี๋ยวเกิดติดใจจึงนำสูตรการทำไปเผยแพร่ในประเทศของตน และปรับปรุง
ดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมของตนจนเกิดเป็นอาหารเส้นต่างๆมากมาย และแพร่
หลายไปทั่วโลกจนเกิดความเข้าใจผิดว่าเส้นสปาเก็ตตี้ และเส้นมะกะโรนี ทั้งหลาย
มีต้นตำรับเป็นชนชาติยุโรป
ชนชาติจีนนี้เป็นชนชาติแรกที่รู้จักการใช้ไฟทำให้อาหารสุก รู้จักการเลี้ยง
สัตว์ การปลูกผักเพื่อนำมาเป็นอาหาร และการนำโลหะมาประดิษฐ์ขึ้นเป็นภาชนะ
หุงต้ม นี่เป็นส่วนแรกที่บอกได้ว่าคนจีนให้ความสำคัญต่อการกินเป็นอย่างมาก ชาวจีนมีเคล็ดลับการปรุงอาหารมากมายรวมทั้งอาหารต่างๆ ส่วนใหญ่ยังเป็นยา
ชั้นยอดอีกด้วย สิ่งที่มีความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ มารยาทการกินอาหารของ
คนจีน
จากตำราว่าด้วยธรรมเนียมการกินของคนจีนสมัยโบราณที่ถือกันมานานเป็น
พันปี กำหนดไว้ว่า
1. ถ้าแขกที่ได้รับเชิญไปกินอาหารมีตำแหน่งราชการต่ำกว่าผู้เป็นเจ้าภาพ
ก่อนจะนั่งโต๊ะ ผู้น้อยที่เป็นแขกควรแสดงความไม่บังควรที่จะร่วมโต๊ะกับผู้ใหญ่
จะนั่งลงได้ก็ต่อเมื่อผู้ใหญ่คะยั้นคะยอ
2. อย่าเพิ่งลงมือกินจนกว่าจะเห็นผู้ใหญ่ใช้ตะเกียบคีบอาหารชิ้นแรกเข้าปาก
และเมื่อจะคีบอาหารกินบ้าง ก็ต้องเลือกชิ้นที่เล็กและอร่อยน้อยที่สุด อย่าเลือกชิ้น
อร่อยที่สุดเช่นส่วนที่เป็นหัวพุงหัวมันกินก่อนเป็นอันขาด เพราะเป็นการเสียมารยาท
อย่างร้ายแรง จะได้กินของดีที่สุดในจานหนึ่ง ๆ ก็จะต้องคอยจนกว่าจะเป็นผู้ใหญ่

จริง ๆ ที่คนต่ำยศกว่าเราเชิญไปกิน
3. ถ้าเจ้าภาพไม่เชิญดื่มสุราล้างปากระหว่างจาน อย่ายกแก้วหรือจอกขึ้น
ดื่มเองโดยลำพังเป็นอันขาด ต้องคอยให้ผู้มีอาวุโสเขาชวนดื่มจึงค่อยดื่ม
4. เวลากินอาหารไม่ควรส่งเสียงดัง ไม่ควรใช้ฟันหน้าแทะกระดูกกันในโต๊ะ
อาหาร และชิ้นปลาที่กัดแล้วไม่มีการวางกลับลงในจานจะต้องกินทั้งชิ้น โดยเลือก
เอาแต่ชิ้นที่กินได้พอดีคำ
5. เนื้อสัตว์ที่ต้ม ตุ๋น หรือทอดจนนุ่มหรือกรอบแล้ว สามารถใช้ฟันกัดแบ่งกิน
ทีละคำได้ แต่ถ้าเป็นเนื้อที่แห้งเหนียว ต้องใช้มีดตัดให้ขาดเป็นชิ้นเสียก่อน แล้วจึง
ใช้ตะเกียบคีบเข้าปาก การฉีกเนื้อเหนียวด้วยมือแล้วป้อนเข้าปากนั้นถือเป็นกิริยาที่
ไม่สุภาพ
กฎอีกข้อที่เห็นจะลืมกล่าวไปไม่ได้นั่นคือ เมื่อกินซุปจะต้องไม่เติมอะไรเลย
เว้นแต่น้ำซุปหูหลามที่เขาเอาน้ำส้มจิ๊กโฉ่มาให้เติม ถ้าใครเติมซอสใดๆลงไปในซุป
เจ้าของบ้านจะขอโทษและบอกว่า "หมดสติปัญญาที่จะปรุงซุปที่รสชาติดีกว่า
นี้ไว้รับรองท่าน" นั้นหมายถึงว่า ซุปถ้วยนั้นๆเป็นซุปที่เจ้าของบ้านบรรจงทำอย่าง
สุดฝีมือแล้ว หากเราเติมซอสปรุงรสใดๆจึงเสมือนการดูถูกฝีมือของเจ้าบ้าน

วัฒนธรรมของคนจีน

วัฒนธรรมการดื่มชาของคนจีน...

ส่วนใหญ่เป็นชาดำ แต่บางส่วนคือชาเขียว
จะดื่มชาจีนให้เข้าถึงและดูมีวัฒนธรรม นั่นก็แน่นอน
เราต้องดื่มจากชุดชา ซึ่งประกอบด้วยกาน้ำชาเล็กๆ
กับถ้วย ชาใบเล็กๆ ซึ่งประเพณีนี้นี่จีนพัฒนากันมา
ตั้งแต่ ศตรรษที่ 16 คือราว 400ปีก่อน ต่อไปเรามาดูชาเขียวกัน
พูดถึงชาเขียวอย่าไปนึกถึงญี่ปุ่น เพราะนี่คือชาเขียวแห่ง "หางโจว"
ญี่ปุ่นนั้นก็ได้พันธุ์ไปจากเมืองจีนครับ โดยมีบันทึกว่าพระญี่ปุ่นรูปหนึ่ง
ซึ่งเคยเดินทางมาศึกษาธรรมที่เมืองจีน เป็นผู้นำกลับไปปลูก
การเก็บใบชานั้น เราต้องเลือกใบชาที่อ่อน หากเป็นชาพันธุ์ดำก็ต้องผ่านการอบ
และบ่มหมัก เฉพาะของใบชาเจ้าการบ่มหมักนี่ล่ะที่ทำให้ใบชาสีเขียวเปลี่ยนสีเป็นแดงน้ำตาลไป
ส่วนสีจะเข้มเพียงไหน นั่นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในการอบ รวมถึงระยะเวลาในการทิ้งใบชา
ให้เปลี่ยนสี
ส่วนชาเขียวนั้นแบ่งได้ถึง 16ระดับ ซึ่งอันดับหนึ่งกับอันดับสิบหก
ราคาจะต่างกันลิบลับเชียว ชาเขียวที่ดีต้องเป็นชาใบอ่อน ช่วงเวลาที่เด็ดใบชาก็เป็นหนึ่ง
ในปัจจัยสำคัญที่มีผลกับรสชาดิและราคา ดีที่สุดคือ "หมิงเฉียน" รองไปคือ "หมิงโฮ่ว"
และชาเขียวจะไม่มีการบ่มหมักแบบชาดำนะครับ
โดยรวมๆแล้วชาซึ่งเป็นเครื่องดื่มประจำวัฒนธรรมจีน
มีคุณค่าทางโภชนาการหรือคุณค่าต่อร่างกายมนุษย์อย่างไร

ก็ดังนี้ครับ วิตามินหลายชนิด น้ำมันหอม ฟลูออไรน์
สำหรับชาเขียว นักวิจัยของสหรัฐอเมริกา พบว่าชาเขียวมีสรรพคุณป้องกันมะเร็ง
โดยอาศัยสารโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งช่วยเร่งปฎิกิริยาเคมีในเซลล์ของร่ายกาย
ซึ่งสารตัวนี้แสดงฤทธิ์การยับยั้งมะเร็งทรวงอกในห้องทดลอง ส่วนชาดำนั้น เพราะผ่านกระบวนการบ่มหมัก ทำให้เสียคุณค่าการต้านมะเร็งไป
เกร็ดการดื่มชาเคยมีญาติผู้ใหญ่สอนผมเอาไว้ จะดื่มชานั้นต้องอุ่นถ้วยชาก่อน
ด้วยการใช้น้ำแรกของการต้มชานั่นล่ะ เทราดบนชุดถ้วยชา
จากนั้นเทน้ำทิ้ง แค่นี้ถ้วยชาก็อุ่นแล้วครับ


วัฒนธรรมการใช้ตะเกียบ


สมัยราชวงศ์ถัง นักการศึกษาชื่อ ขงอิ่งต๋า ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญตำราคัมภีร์ขงจื๊อ มีชีวิตอยู่เมื่อปี ค.ศ. 574 - 648 ได้สนองรับคำสั่งของพระเจ้าถังไท้จง เรียบเรียงอู่จิงเจิ้งอี้ ( Wujing Zhengyi ) หรือ “ An Exact Implication of the Five Classics ” สำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานในการสอบคัดเลือกคนเข้ารับราชการ เขาได้พูดถึงธรรมเนียมและมารยาทในการกินข้าวของคนจีนในสมัยนั้นว่า
มารยาทการกินข้าวของคนโบราณจะไม่ใช้ตะเกียบ แต่ใช้มือ เมื่อกินข้าวร่วมกับคนอื่น ควรชำระมือให้สะอาดหมดจด อย่าให้ถึงเวลากินข้าวแล้วเอามือถูใบสน หยิบข้าวกิน เกรงจะเป็นที่ติฉินของคนอื่นว่าสกปรก คนโบราณที่ ขงอิ่งต๋า กล่าวถีงคือคนในยุคขงจื๊อ จึงมีความเชื่อกันว่า คนจีนน่าจะรู้จักใช้ตะเกียบกันมา เป็นเวลานานมากกว่า 2,000 ปี ตะเกียบใช้สำหรับคีบผักต้มจากหม้อน้ำแกงมาไว้ในชามข้าว จากนั้นจึงเอามือหยิบข้าวกิน ถ้ามีใครใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวเข้าปาก จะถือว่าเป็นการเสียมารยาทมาก สิ่งใดที่บรรพบุรุษสร้างไว้หรือกำหนดไว้ จะไม่มีผู้ใดกล้าฝ่าฝืน คนจีนจึงรักษาธรรมเนียมการกินด้วยมือ อยู่เป็นเวลานานหลายร้อยปี
จีนเริ่มใช้ตะเกียบตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง แต่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า คนจีนใช้ตะเกียบกินข้าวกันอย่างแพร่หลายหลังยุคราชวงศ์ฮั่น ประมาณในคริสต์ศตวรรษที่ 3 คนในสมัยนั้นเรียกตะเกียบว่า จู้( Zhu ) ต่อมาเปลี่ยนเป็น ไขว้จื่อ ( Kuaizi ) เหตุผลก็เป็นเพราะว่าชาวเรือ ถือคำว่า จู้ ที่ไปพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายว่า หยุด ซึ่งไม่เป็นมงคลต่อการเดินเรือ จึงเปลี่ยนไปใช้ ไขว้จื่อ แทน จู้ คนแต้จิ๋วออกเสียง จู้ ว่า ตื่อ ” ( Del ) และในปัจจุบันก็ยังคงใช้กันอยู่
การที่คนจีนใช้ตะเกียบในการกินอาหารมาเป็นเวลานานนับพันปี จึงมีความรู้คำสอนไว้มากมายจนกระทั่งกลายมาเป็น วัฒนธรรมตะเกียบ ซึ่งมีตั้งแต่การจับตะเกียบที่ต้องพิถีพิถันกันมาก จนกระทั่งถึงข้อห้ามต่างๆ อาทิ เช่น
-ห้ามวางตะเกียบเปะปะ จะต้องวางให้เป็นระเบียบเสมอกันทั้งคู่ การวางตะเกียบไม่เสมอกัน ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง คนจีนถือคำว่า ชางฉางเหลียงต่วน ความหมายตามตัวอักษรนั้น หมายถึง สามยาวสองสั้น คำนี้ คนจีนมักหมายถึง ความตาย หรือความวิบัติฉิบหาย ดังนั้นการวางตะเกียบที่ทำให้เหมือนมีแท่งไม้สั้นๆยาวๆ จึงไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง ห้ามทำเช่นนี้เด็ดขาด
-ห้ามใช้ตะเกียบชี้หน้าผู้อื่น หรือถือไว้ในลักษณะที่ให้นิ้วชี้ ชี้คนอื่นที่อยู่ร่วมโต๊ะ แต่การใช้นิ้วชี้ผู้อื่นคนไทยก็ถือว่า ไม่สุภาพเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะแต่คนจีนเท่านั้น
-ห้าม อม ดูด หรือ เลียตะเกียบ กิริยานี้เป็นเรื่องที่เสียมารยาทอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งดูดจนเกิดเสียงดังด้วยแล้ว ถือเป็นกิริยาที่ขาดการอบรมที่ดี
-ห้ามใช้ตะเกียบเคาะถ้วยชาม เพราะมีแต่ขอทานเท่านั้นที่จะเคาะถ้วยชาม ปากก็ร้องขอความเมตตา เพื่อชวนให้เวทนาสงสาร เรียกร้องความสนใจให้บริจาคทาน
-ห้ามใช้ตะเกียบวนไปมาบนโต๊ะอาหาร โดยไม่รู้ว่าจะคีบอาหารชนิดใด ถือว่าเป็นกิริยาที่ควรหลีกเลี่ยง ควรใช้ตะเกียบคีบอาหารที่ต้องการนั้นทันที
-ห้ามใช้ตะเกียบคุ้ยหาอาหาร การกระทำเช่นนี้เปรียบเหมือน พวกโจรสลัดขุดสุสาน เพื่อหาสมบัติที่ต้องการ ถือเป็นกิริยาที่น่ารังเกียจ
-ห้ามคีบอาหารให้น้ำหยดใส่อาหารจานอื่น เมื่อคีบอาหารได้แล้วจะต้องให้สะเด็ดน้ำสักนิด เพื่อไม่ให้น้ำหยดและอย่าทำอาหารที่คีบอยู่หล่นใส่โต๊ะ หรืออาหารจานอื่น การทำเช่นนี้ถือเป็นกิริยาที่เสียมารยาทเป็นอย่างยิ่ง
-ห้ามถือตะเกียบกลับข้าง คือถือปลายตะเกียบขึ้น ใช้ช่วงบนตะเกียบคีบอาหาร กิริยานี้น่าดูแคลนที่สุด เพราะถือว่าไม่ไว้หน้าตนเอง เหมือนหิวจนไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น    
-ห้ามใช้ตะเกียบข้างเดียวเสียบแทงลงในอาหาร ถือว่าเป็นการเหยียดหยามน้ำใจกัน ไม่ต่างอะไรจากการชูนิ้วกลางให้ของฝรั่ง
-ห้ามปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะดูเหมือนปักธูปในกระถางไหว้คนตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข้าวให้คนอื่นแล้วปักตะเกียบไว้ในชามข้าวส่งให้ จะถือว่าเป็นการสาปแช่ง
-ห้ามวางตะเกียนไขว้กัน คนจีนในปักกิ่งถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกัน ทั้งแก่ตนเองและเพื่อนร่วมโต๊ะ
-ห้ามทำตะเกียบตกพื้น เพราะเสียมารยาทอย่างยิ่ง จะทำให้วิญญาณที่หลับสงบอยู่ใต้พิภพตื่นตกใจ ถือว่าเป็นสิ่งอกตัญญู จะต้องรีบเก็บตะเกียบคู่นั้นวาดเครื่องหมายกาก บาท บนจุดที่ตะเกียบตกทันที พร้อมกับกล่าวคำขอโทษ
-วิธีถือตะเกียบที่ถูกต้อง จะต้องถือตะเกียบไว้ตรงง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้อีกสามนิ้วที่เหลือคอยประคองตัวตะเกียบไว้ และต้องถือให้เสมอกัน เมื่ออิ่มแล้วต้องวางตะเกียบขวางไว้กลางชามข้าวเสมอ.

เที่ยวประเทศจีน Go Go

อุโมงค์เลเซอร์
 อุโมงค์เลเซอร์ (The Bund sightseeing tunnel)
รถไฟลอดอุโมงค์เลเซอร์ เป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำสายแรกในประเทศจีน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยรถรางได้ เพื่อข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามใช้เวลาประมาณ 5 นาที ภายในอุโมงค์ตกแต่งด้วยเเสงเลเซอร์ เป็นรูปต่าง ๆ ตื่นตาตื่นใจ
อุโมงค์เลเซอร์ มีความลึกลงไปจากพื้นแม่น้ำ 9 เมตร ความยาว 646.70 เมตร สร้างเสร็จ เมื่อปี ค.ศ. 2000 รถอุโมงค์นี้สามารถ รับ ส่งนักท่องเที่ยวได้ ชั่วโมงละ 5,280 คน
หาดไว่ทัน หรือหาดเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้
หาดไว่ทัน หรือหาดเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้
ตั้งอยู่ฝั่งเมืองเก่าผู่ซี่นั้น มีพื้นที่ที่เรียกกันว่า "The Bund"เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงที่สุดของ เซี่ยงไฮ้นับตั้งแต่อดีตกาล จนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่บนถนนจงซาน ริมแม่น้ำที่มีความยาว 1 กิโลเมตรครึ่ง เลาะไปตามริมแม่น้ำหวงผู่ เป็นย่านอาคารสไตล์ยุโรปงดงามที่มีความเก่าแก่กว่าร้อยปีตั้งเรียงรายอยู่บนถนนริมแม่น้ำหวงผู่ อาคารเหล่านี้เป็นอาคารที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยที่เซี่ยงไฮ้ยังเป็นเขตเช่าของประเทศต่างๆ ปัจจุบันก็ใช้เป็นโรงแรม เป็นที่ทำการธนาคารแห่งชาติหลายๆ แห่ง รวมไปถึงยังเป็นที่ทำการกงสุลไทย และธนาคารกรุงเทพ สาขาเซี่ยงไฮ้
หาดไว่ทัน เป็นสถานที่ในการถ่ายทอดเรื่องราวของเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ที่เกิดขึ้นในยุคที่เมืองเซี่ยงไฮ้เต็มไปด้วยเจ้าพ่อหลายแก๊งค์แย่ง ชิงอำนาจกันให้วุ่นวายไปหมด หาดไว่ทันจึงมีชื่อที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยว่า "หาดเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้"
จตุรัสเทียนอันเหมิน
ตั้งอยู่ที่ถนนฉางอาน ในกลางเมืองหลวง (ปักกิ่ง) ว่ากันว่า เป็นจตุรัสที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสัญลักษณ์ของจีนใหม่ และยังเป็นสัญลักษณ์ของกรุงปักกิ่งด้วย ความยาวตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ 880 เมตร ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก 500 เมตร พื้นที่ทั้งสิ้น 440,000 ตารางเมตร สามารถจุประชากรได้ถึง 1,000,000 คน ใช้จัดงานเฉลิมฉลอง เนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ ที่บริเวณจตุรัสเทียนอันเหมิน มีสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ได้แก่ หอประตูเทียนอันเหมิน อนุสาวรีย์วีรชน หอระลึกประธานเหมาเจ๋อตง พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติจีน พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จีน มหาศาลาประชาชน จัตุรัสเทียนอันเหมินมีความสำคัญในวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่เป็นสัญญลักขณ์เพราะว่าจัตุรัสเทียนอันเหมินคือที่ตั้งของเหตุการณ์สำคัญมากมายในประวัติศาสตร์จีนหอประตูเทียนอันเหมิน
ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของจัตุรัส ประตูเทียนอันเหมินเป็นที่มาของชื่อจัตุรัสเทียนอันเหมิน ที่ถือว่าเป็น
ดวงตา ของเมืองปักกิ่ง และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ
สาธารณรัฐประชาชนจีน มีภาพวาดของท่านประธานเหมาเจ๋อตุงประดับอยู่ ณ ประตูแห่งนี้ หอประตูแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีที่ 15 ในรัชสมัยหย่งเล่อ (ค.ศ.1417)
แห่งราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644) เป็นประตูใหญ่ของเขตพระราชวังแห่งราชสำนักหมิง เบื้องหลังหอประตูนี้คือพระราชวังต้องห้าม (กู้กง) ในสมัยนั้นเรียก
ประตูเฉิงเทียนเหมิน

ลักษณะของประตูวังเก่าแห่งนี้ เป็นกำแพงใหญ่ ชั้นบนสร้างเป็นเก๋งหลังคาสีเหลือง มีเสากลมสีแดง 10 ต้น เพื่อให้เกิดเป็นช่วงระหว่างเสา 9 ช่อง ตามตัวเลขทรงโปรดของจักรพรรดิ ชั้นล่างเป็นช่องประตูทรงเกือกม้า 5 ช่อง มีภาพเหมือนสีน้ำมันขนาดใหญ่ของประธานหมาว เจ๋อ ตง ติดตั้งเหนือประตูกลางสองข้างของภาพนี้ มีคำขวัญเขียนว่า "ประชาชนจีนจงเจริญ" และ "ประชากรโลกจงเจริญ" เป็นคำพูดของ ท่านเหมาเมื่อครั้งกล่าวคำปราศรัยบนพลับพลาเทียนอานเหมิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสถาปนาประเทศจีนใหม่หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" และได้ถือเอาวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันชาติตลอดมาจวบจนปัจจุบันบริเวณหน้าเทียนอานเหมิน มีสะพานหินที่แกะสลักลวดลายสวยงามเรียงขนานกัน 5 สะพานด้วยกัน มีสิงโตหินขนานใหญ่ ยืนเป็นยามรักษาประตูอีก 1 คู่ สำหรับสิงโตคู่ที่วางประดับหน้าตำหนักและอาคารบ้านเรือนทั่วไป จะมีตำแหน่งการจัดวางที่ตายตัว โดยตัวผู้จะถูกวางทางซ้าย ตัวเมียอยู่ทางด้านขวาเสมอ
หอไข่มุก Oriental Pearl

สัญลักษณ์ของนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ตั้งอยู่ที่สวนผู่ตง ริมแม่น้ำหวงผู่ ตรงกันข้ามกับย่านเศรษฐกิจเก่าที่เรียกว่า The Bund เป็นหอคอยที่สูงที่สุดในเอเซีย และเป็นหอส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ลักษณะที่โดดเด่นของหอนี้คือมีไข่มุกเรียงกัน 3 เม็ด จากเม็ดใหญไล่ขึ้นไปเป็นเม็ดเล็ก วางเรียงกันในความสูงที่แตกต่างกัน บนเสาที่มีฐาน 3 ต้น และนี่เองคงเป็นที่มาของของชื่อ Oriental Pearl ด้านล่างของหอไข่มุกจะเป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง ที่นี่จะใช้หุ่นแสดงถึงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของเมืองเซี่ยงไฮ้ ในตอนกลางคืนมีการเปิดไฟสวยงามตระการตา และในบริเวณใกล้เคียงก็มีตึกสูงๆ ที่ต่างก็ประโคมเปิดไฟเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
หอไข่มุก จะมีมุกอยู่ 3 เม็ดเรียงรายกันอยู่ ในแต่ละเม็ดเขาก็จะมีการจัดทำกิจกรรมกันหลาย ๆ อย่าง
เม็ดที่ 1 เป็นชั้นล่างสุด ก็จะมีพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่
เม็ดที่ 2 เป็นสถานีรับส่งสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ของเซี่ยงไฮ้
เม็ดที่ 3 เป็นร้านอาหารและโรงแรม
ปัจจุบันถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเซี่ยงไฮ้

 
ชาวจีนย่านนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ใช่แต่เฉพาะอาหารการกินที่มีกลิ่นและรสแปลกๆเท่านั้น การแต่งกายก็ยังแตกต่างไปจากชุมชนชาวจีนอื่นๆหญิงสวม ฮิญาบ หรือผ้าคลุมหน้าตามแบบหญิงมุสลิมพวกผู้ชายสวมหมวกกลมกลางศีรษะ ชุมชนแห่งนี้เรียกตัวเองว่า "หุย" มีวิถีชีวิตสุขสงบ อยู่หลังกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง เวลานั้นตรงกับช่วงที่ท่านนบี มูฮัมหมัด (พ.ศ.1113 -1175 ) พระบรมศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลามได้สิ้นชีวิตไปแล้ว 30 ปี คำสอนของท่านซึ่งเริ่มต้นเผยแพร่ในหมู่ญาติสนิท ได้แผ่ขยายกว้างขวางไปทั่วคาบสมุทร อารเบีย ขณะที่อาณาจักรมุสลิมใหม่เพิ่งก่อตั้งขึ้นในซีเรีย บรรดาพ่อค้าอาหรับและเปอร์เซีย เดินทางค้าขายทางบกมาตามเส้นทางไหม ผ่านเขาเทียนซาน ซินเจียง อุยกูร์ จนถึงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเหลือง สู่ฉางอาน (ฉางอัน Chang An) หรือ ซีอาน ในปัจจุบัน พ่อค้าเหล่านั้นได้นำศาสนาอิสลามเข้าสู่แผ่นดินจีนมาด้วย ส่วนอีกสายหนึ่งมาทางเรือ ในสมัยราชวงศ์สุยผ่านคาบสมุทรอินเดีย ขึ้นฝั่งแถบเมืองท่ากวางตุ้งและฮกเกี้ยน จากนั้นศาสนาอิสลามก็แพร่หลายอย่างมั่นคงยาวนาน
ยุคของถังไท่จงฮ่องเต้เปิดกว้างต้อนรับทุกศาสนา โปรดฯให้ชาวหุย สร้างศาสนสถานไว้ใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนากิจ อยู่ที่ด้านหลังกำแพงเมืองฉางอานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ราว พ.ศ.1285 เรียกกันว่า "สุเหร่าใหญ่ชิงเจิน หรือชิงเจินสือ" ต่อมาได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ตลอดมาหลายราชวงศ์ ทั้ง ซ่ง หยวน หมิง และ ชิง (แมนจู) จนถึงยุคปฏิวัติทางวัฒนธรรม รัฐบาลพรรคคอมมิวนิวสต์ พยายามลดความร้าวฉานทางลัทธิศาสนาต่างๆรวมทั้งแก้ไขนโยบายทางศาสนาของชนกลุ่มน้อย ส่งผลให้สุเหร่าผุดพรายกระจายทั่วแผ่นดินจีนกว่า 21,000 แห่ง และยังจัดสรรกองทุนพิเศษทะนุบำรุงสุเหร่าใหญ่ทุกปี ทำให้อาคารสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่อยู่ภายในสุเหร่ายังคงความสมบูรณ์มั่นคงแข็งแรงถูกใช้สอยเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจเสมอมา และยังได้รับยกย่องให้เป็นโบราณสถานทางศาสนาอิสลามใหญ่ที่สุด 1 ใน 4 แห่งของเอเชียที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทางสถาปัตยกรรมจีนผสมผสานความเชื่อตามหลักการของศาสนาอิสลามอันงดงามหาชมได้ยาก ภายในสุเหร่าใหญ่ ได้จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ศิลปวัตถุล้ำค่าหายากตามหมู่อาคารต่างๆไว้อย่างน่าสนใจ พร้อมกับอนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมชม มีพี่น้องมุสลิมทั่วโลกมากกว่า 100 ประเทศ หรือกว่า 600,000 คน รวมทั้งผู้นำรัฐบาลและผู้นำประเทศอีกจำนวนมากเข้ามาเยี่ยมเยือน
 

ถนนชีวิตชาวหุย (Muslim Square Xian จัตุรัสมุสลิมซีอาน)
หาดไว่ทัน นี้ยังอยู่ใกล้ นานจิงลู่ ถนนคนเดินเป็นแหล่งช๊อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมและสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมของคนไทย และ หาดไว่ทัน นี้เรายังมองเห็นหอไข่มุกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเซี่ยงไฮ้ อีกด้วย

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

"รู้ไหมๆ"


ประเทศที่แทบไม่มีใครรู้จัก


ประเทศปาเลา



ปาเลา (อังกฤษ: Palau) หรือ เบเลา (ปาเลา: Belau) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐปาเลา (Republic of Palau) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ไปประมาณ 500 กิโลเมตร ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในโลก สันนิษฐานว่าชนพื้นเมืองของปาเลาเป็นพวกที่อพยพมาจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ส่วนชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมาถึงปาเลาเป็นชาวสเปน แต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานจริงจังจนกระทั่งเรือของอังกฤษอัปปางนอกฝั่งปาเลา จึงทำให้ชาวอังกฤษเริ่มรู้จักเกาะนี้ และกลายเป็นคู่ค้าหลัก ในขณะเดียวกันโรคติดต่อที่มาจากชาวยุโรปก็คร่าชีวิตชาวเกาะเป็นจำนวนมากต่อมาชาวสเปนได้มีอำนาจเหนือปาเลา แต่ภายหลังได้ขายหมู่เกาะนี้ให้แก่เยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปาเลาจึงกลายเป็นสนามรบระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามสหรัฐอเมริกาเริ่มมีอำนาจแทนญี่ปุ่น ปาเลาต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเกือบทุกด้าน หลังจากได้รับเอกราช ก็ยังได้รับการช่วยเหลือทางการเงินและการป้องกันจากสหรัฐอเมริกา
ภูมิประเทศ ประกอบด้วยหมู่เกาะ 26 เกาะ และมีเกาะเล็กๆ อีกประมาณ 300 เกาะ
ภูมิอากาศ ฝนตกชุก และอากาศร้อนตลอดปี
เศรษฐกิจ ปาเลาเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและมาตรฐานชีวิตที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิกด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีการกระจุกตัวของรายได้ ทั้งนี้ รายได้หลักมาจากการ ท่องเที่ยว เกษตรกรรม การประมง โดยรัฐบาลเป็นผู้สร้างและจ้างงานหลัก ปาเลายังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาจากสหรัฐฯ และการประกอบธุรกิจจากนักลงทุนสหรัฐฯ ซึ่งทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว อยู่ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับสหพันธรัฐไมโครนีเซีย
ประชากร
ปาเลา ร้อยละ 70 ชาวเอเชียร้อยละ28อื่นๆร้อยละ2ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ประชากรรู้หนังสือร้อยละ 98 ประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองร้อยละ 71วัฒนธรรม เป็นแบบวัฒนธรรมแบบชาวไมโครนีเซีย และก็ได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกเป็นอย่างมากแม้กระทั่งภาษาพูด และศาสนา ในฐานะอดีตเคยเป็นเมืองขึ้น ส่วนญี่ปุ่นเองก็มีส่วนสร้างวัฒนธรรมของชาวปาเลา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ส่วนมากพูดกันในเกาะอังเอาร์

Where is New Caledonia?

จากที่เล่าคร่าวๆ เมื่อตอน 1 New Caledonia เป็นประเทศที่เป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 3 รองลงมาจากปาปัวนิวกีนีและนิวซีแลนด์ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เกาะอยู่ทางมาลีนีเซียตอนใต้
นิวคาลีโดเนีย อยู่ห่างจากประเทศออสเตรเลียประมาณ
1500 กิโลเมตร ห่างจากประเทศนิวซีแลนด์ประมาณ 1700 กิโลเมตร และ 5000
กิโลเมตรจากประเทศตาฮิติ
เกาะล้อมรอบด้วยแนวปะการังซึ่งมีความยาวถึง
1600 กิโลเมตร ทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นลากูนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (The largest lagoon in the world)

จากการสำรวจเมื่อปี
2006มีประชากรอาศัยอยู่ราว 200000 คนเศษ ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาพื้นเมืองคือ
มาลานีเซียน-โปลีนีเซียน (Malanesian-Polenesian)
ใช้เงินสกุลฟรังซ์ (Pacifique Francs (XPF) )
ค่าเงินอยู่ที่ประมาณ 90 ฟรังซ์ต่อ 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
เมืองหลวงชื่อ นูเมีย (
Noumea)