วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมของคนจีน

วัฒนธรรมการดื่มชาของคนจีน...

ส่วนใหญ่เป็นชาดำ แต่บางส่วนคือชาเขียว
จะดื่มชาจีนให้เข้าถึงและดูมีวัฒนธรรม นั่นก็แน่นอน
เราต้องดื่มจากชุดชา ซึ่งประกอบด้วยกาน้ำชาเล็กๆ
กับถ้วย ชาใบเล็กๆ ซึ่งประเพณีนี้นี่จีนพัฒนากันมา
ตั้งแต่ ศตรรษที่ 16 คือราว 400ปีก่อน ต่อไปเรามาดูชาเขียวกัน
พูดถึงชาเขียวอย่าไปนึกถึงญี่ปุ่น เพราะนี่คือชาเขียวแห่ง "หางโจว"
ญี่ปุ่นนั้นก็ได้พันธุ์ไปจากเมืองจีนครับ โดยมีบันทึกว่าพระญี่ปุ่นรูปหนึ่ง
ซึ่งเคยเดินทางมาศึกษาธรรมที่เมืองจีน เป็นผู้นำกลับไปปลูก
การเก็บใบชานั้น เราต้องเลือกใบชาที่อ่อน หากเป็นชาพันธุ์ดำก็ต้องผ่านการอบ
และบ่มหมัก เฉพาะของใบชาเจ้าการบ่มหมักนี่ล่ะที่ทำให้ใบชาสีเขียวเปลี่ยนสีเป็นแดงน้ำตาลไป
ส่วนสีจะเข้มเพียงไหน นั่นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในการอบ รวมถึงระยะเวลาในการทิ้งใบชา
ให้เปลี่ยนสี
ส่วนชาเขียวนั้นแบ่งได้ถึง 16ระดับ ซึ่งอันดับหนึ่งกับอันดับสิบหก
ราคาจะต่างกันลิบลับเชียว ชาเขียวที่ดีต้องเป็นชาใบอ่อน ช่วงเวลาที่เด็ดใบชาก็เป็นหนึ่ง
ในปัจจัยสำคัญที่มีผลกับรสชาดิและราคา ดีที่สุดคือ "หมิงเฉียน" รองไปคือ "หมิงโฮ่ว"
และชาเขียวจะไม่มีการบ่มหมักแบบชาดำนะครับ
โดยรวมๆแล้วชาซึ่งเป็นเครื่องดื่มประจำวัฒนธรรมจีน
มีคุณค่าทางโภชนาการหรือคุณค่าต่อร่างกายมนุษย์อย่างไร

ก็ดังนี้ครับ วิตามินหลายชนิด น้ำมันหอม ฟลูออไรน์
สำหรับชาเขียว นักวิจัยของสหรัฐอเมริกา พบว่าชาเขียวมีสรรพคุณป้องกันมะเร็ง
โดยอาศัยสารโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งช่วยเร่งปฎิกิริยาเคมีในเซลล์ของร่ายกาย
ซึ่งสารตัวนี้แสดงฤทธิ์การยับยั้งมะเร็งทรวงอกในห้องทดลอง ส่วนชาดำนั้น เพราะผ่านกระบวนการบ่มหมัก ทำให้เสียคุณค่าการต้านมะเร็งไป
เกร็ดการดื่มชาเคยมีญาติผู้ใหญ่สอนผมเอาไว้ จะดื่มชานั้นต้องอุ่นถ้วยชาก่อน
ด้วยการใช้น้ำแรกของการต้มชานั่นล่ะ เทราดบนชุดถ้วยชา
จากนั้นเทน้ำทิ้ง แค่นี้ถ้วยชาก็อุ่นแล้วครับ


วัฒนธรรมการใช้ตะเกียบ


สมัยราชวงศ์ถัง นักการศึกษาชื่อ ขงอิ่งต๋า ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญตำราคัมภีร์ขงจื๊อ มีชีวิตอยู่เมื่อปี ค.ศ. 574 - 648 ได้สนองรับคำสั่งของพระเจ้าถังไท้จง เรียบเรียงอู่จิงเจิ้งอี้ ( Wujing Zhengyi ) หรือ “ An Exact Implication of the Five Classics ” สำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานในการสอบคัดเลือกคนเข้ารับราชการ เขาได้พูดถึงธรรมเนียมและมารยาทในการกินข้าวของคนจีนในสมัยนั้นว่า
มารยาทการกินข้าวของคนโบราณจะไม่ใช้ตะเกียบ แต่ใช้มือ เมื่อกินข้าวร่วมกับคนอื่น ควรชำระมือให้สะอาดหมดจด อย่าให้ถึงเวลากินข้าวแล้วเอามือถูใบสน หยิบข้าวกิน เกรงจะเป็นที่ติฉินของคนอื่นว่าสกปรก คนโบราณที่ ขงอิ่งต๋า กล่าวถีงคือคนในยุคขงจื๊อ จึงมีความเชื่อกันว่า คนจีนน่าจะรู้จักใช้ตะเกียบกันมา เป็นเวลานานมากกว่า 2,000 ปี ตะเกียบใช้สำหรับคีบผักต้มจากหม้อน้ำแกงมาไว้ในชามข้าว จากนั้นจึงเอามือหยิบข้าวกิน ถ้ามีใครใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวเข้าปาก จะถือว่าเป็นการเสียมารยาทมาก สิ่งใดที่บรรพบุรุษสร้างไว้หรือกำหนดไว้ จะไม่มีผู้ใดกล้าฝ่าฝืน คนจีนจึงรักษาธรรมเนียมการกินด้วยมือ อยู่เป็นเวลานานหลายร้อยปี
จีนเริ่มใช้ตะเกียบตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง แต่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า คนจีนใช้ตะเกียบกินข้าวกันอย่างแพร่หลายหลังยุคราชวงศ์ฮั่น ประมาณในคริสต์ศตวรรษที่ 3 คนในสมัยนั้นเรียกตะเกียบว่า จู้( Zhu ) ต่อมาเปลี่ยนเป็น ไขว้จื่อ ( Kuaizi ) เหตุผลก็เป็นเพราะว่าชาวเรือ ถือคำว่า จู้ ที่ไปพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายว่า หยุด ซึ่งไม่เป็นมงคลต่อการเดินเรือ จึงเปลี่ยนไปใช้ ไขว้จื่อ แทน จู้ คนแต้จิ๋วออกเสียง จู้ ว่า ตื่อ ” ( Del ) และในปัจจุบันก็ยังคงใช้กันอยู่
การที่คนจีนใช้ตะเกียบในการกินอาหารมาเป็นเวลานานนับพันปี จึงมีความรู้คำสอนไว้มากมายจนกระทั่งกลายมาเป็น วัฒนธรรมตะเกียบ ซึ่งมีตั้งแต่การจับตะเกียบที่ต้องพิถีพิถันกันมาก จนกระทั่งถึงข้อห้ามต่างๆ อาทิ เช่น
-ห้ามวางตะเกียบเปะปะ จะต้องวางให้เป็นระเบียบเสมอกันทั้งคู่ การวางตะเกียบไม่เสมอกัน ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง คนจีนถือคำว่า ชางฉางเหลียงต่วน ความหมายตามตัวอักษรนั้น หมายถึง สามยาวสองสั้น คำนี้ คนจีนมักหมายถึง ความตาย หรือความวิบัติฉิบหาย ดังนั้นการวางตะเกียบที่ทำให้เหมือนมีแท่งไม้สั้นๆยาวๆ จึงไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง ห้ามทำเช่นนี้เด็ดขาด
-ห้ามใช้ตะเกียบชี้หน้าผู้อื่น หรือถือไว้ในลักษณะที่ให้นิ้วชี้ ชี้คนอื่นที่อยู่ร่วมโต๊ะ แต่การใช้นิ้วชี้ผู้อื่นคนไทยก็ถือว่า ไม่สุภาพเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะแต่คนจีนเท่านั้น
-ห้าม อม ดูด หรือ เลียตะเกียบ กิริยานี้เป็นเรื่องที่เสียมารยาทอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งดูดจนเกิดเสียงดังด้วยแล้ว ถือเป็นกิริยาที่ขาดการอบรมที่ดี
-ห้ามใช้ตะเกียบเคาะถ้วยชาม เพราะมีแต่ขอทานเท่านั้นที่จะเคาะถ้วยชาม ปากก็ร้องขอความเมตตา เพื่อชวนให้เวทนาสงสาร เรียกร้องความสนใจให้บริจาคทาน
-ห้ามใช้ตะเกียบวนไปมาบนโต๊ะอาหาร โดยไม่รู้ว่าจะคีบอาหารชนิดใด ถือว่าเป็นกิริยาที่ควรหลีกเลี่ยง ควรใช้ตะเกียบคีบอาหารที่ต้องการนั้นทันที
-ห้ามใช้ตะเกียบคุ้ยหาอาหาร การกระทำเช่นนี้เปรียบเหมือน พวกโจรสลัดขุดสุสาน เพื่อหาสมบัติที่ต้องการ ถือเป็นกิริยาที่น่ารังเกียจ
-ห้ามคีบอาหารให้น้ำหยดใส่อาหารจานอื่น เมื่อคีบอาหารได้แล้วจะต้องให้สะเด็ดน้ำสักนิด เพื่อไม่ให้น้ำหยดและอย่าทำอาหารที่คีบอยู่หล่นใส่โต๊ะ หรืออาหารจานอื่น การทำเช่นนี้ถือเป็นกิริยาที่เสียมารยาทเป็นอย่างยิ่ง
-ห้ามถือตะเกียบกลับข้าง คือถือปลายตะเกียบขึ้น ใช้ช่วงบนตะเกียบคีบอาหาร กิริยานี้น่าดูแคลนที่สุด เพราะถือว่าไม่ไว้หน้าตนเอง เหมือนหิวจนไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น    
-ห้ามใช้ตะเกียบข้างเดียวเสียบแทงลงในอาหาร ถือว่าเป็นการเหยียดหยามน้ำใจกัน ไม่ต่างอะไรจากการชูนิ้วกลางให้ของฝรั่ง
-ห้ามปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะดูเหมือนปักธูปในกระถางไหว้คนตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข้าวให้คนอื่นแล้วปักตะเกียบไว้ในชามข้าวส่งให้ จะถือว่าเป็นการสาปแช่ง
-ห้ามวางตะเกียนไขว้กัน คนจีนในปักกิ่งถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกัน ทั้งแก่ตนเองและเพื่อนร่วมโต๊ะ
-ห้ามทำตะเกียบตกพื้น เพราะเสียมารยาทอย่างยิ่ง จะทำให้วิญญาณที่หลับสงบอยู่ใต้พิภพตื่นตกใจ ถือว่าเป็นสิ่งอกตัญญู จะต้องรีบเก็บตะเกียบคู่นั้นวาดเครื่องหมายกาก บาท บนจุดที่ตะเกียบตกทันที พร้อมกับกล่าวคำขอโทษ
-วิธีถือตะเกียบที่ถูกต้อง จะต้องถือตะเกียบไว้ตรงง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้อีกสามนิ้วที่เหลือคอยประคองตัวตะเกียบไว้ และต้องถือให้เสมอกัน เมื่ออิ่มแล้วต้องวางตะเกียบขวางไว้กลางชามข้าวเสมอ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น